วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม

จิตรกรรม (Painting) เป็นวัฒนธรรมเกี่ยวกับการวาดเส้น (Drawing) การใช้สีจากวัสดุธรรมชาติเช่น สีแดง พื้นสำหรับเขียนจิตรกรรม เช่นผนังถ้ำ หน้าผา ผนังโบสถ์ กำแพงหิน จิตรกรรมในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยหิน เช่น ที่ผาแต้ม และผนังถ้ำทั่วประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ เป็นจิตรกรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เช่น คนกับควาย การจับปลา พิธีกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมยุคประวัติศาสตร์เป็นจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนา ความเชื่อต่าง ๆ ในสังคมมีการใช้กระดาษทำงานจิตรกรรม ด้วย


ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี



พระเจ้าสนชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และสองกุมาร ในอาการเศร้าโศก จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ขุนนางหมอบกราบต่อหน้าพระพักตร์ของพระราชา จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครกรุงเทพฯ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระพุทธองค์ตอนทรงปราบช้างนาฬาคีรี จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครกรุงเทพฯ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


พระเจ้าสนชัญประทับภายในปราสาทเพื่อทอดพระเนตร ชูชกซึ่งพาสองกุมารมาขอค่าไถ่ จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


เขาพระสุเมรุ และเขาสัตบริภัณฑ์ อันเป็นแกนกลางของโลกและจักรวาล จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดใหญ่อินทาราม ชลบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


เส้นสินเทา (หยักฟันปลา) เหนือปราสาทราชมณเฑียร จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

จิตรกรรม เป็นวัฒนธรรมที่ใช้การวาดเส้นหรือภาพวาดเป็นสื่อ งานจิตรกรรมอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ยุคสมัย ความเชื่อ ประวัติศาสตร์สีที่ใช้ในงานจิตรกรรมในสมัยก่อนเป็นสีที่ได้มาจากวัสดุตามธรรมชาติ และใช้ผนังถ้ำ หน้าผา ผนังโบสถ์ กำแพงหินเป็นพื้นผิวสำหรับเขียนงานจิตรกรรมเป็นงานที่สะท้อนถึงอารมณ์ต่างๆ ของจิตรกร เรื่องราวต่างๆ ที่จิตรกรต้องการเล่าเรื่องผ่านงานจิตรกรรม เช่น การดำเนินชีวิตของคนยุคนั้น พิธีกรรมทางศาสนา ประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: